วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

สุพรรณบุรี ชาวนากุ้งกว่า 300 คน ร้องผู้ว่าฯให้ช่วยหลังถูกน้ำท่วมกว่า 4 อำเภอ เสียหายเกือบหมื่นไร่




            ชาวนากุ้งสุพรรณบุรี  กว่า 300 คน รวมตัวยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือหลังน้ำท่วมนากุ้งในพื้นที่ 4 อำเภอ ความเสียหายเกือบหมื่นไร่ ซึ่งตัวแทนเกษตรผู้เลี้ยงกุ้งสุพรรณบุรี กล่าวว่า การที่มายื่นหนังสือในครั้งนี้ 1 ให้จังหวัดช่วยเหลือเกี่ยวกับน้ำท่วม เพราะว่าผู้ที่ลงทะเบียนฟาร์มกุ้งขาว ขณะที่ประมงรับขึ้นทะเบียนเป็นเฉพาะทะเบียนฟาร์มกุ้งก้ามกามอย่างเดียว  2.เกษตรกรที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน เนื่องจากทางประมงจังหวัดแจ้งว่าผิดข้อบังคับของทางจังหวัด ทำให้เกษตรไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชย ซึ่งการทำนากุ้ง ในขณะนี้ ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ละฟาร์มได้มีการปรับเปลี่ยนสภาพการเลี้ยงกุ้งให้สามารถอยู่ร่วมกับชาวนาได้ ซึ่งผลตรวจสอบดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้วเพียงรอการประกาศอย่างเป็นทางการ แต่มาประสบปัญหาน้ำท่วมก่อน สาเหตุมาจากการประกาศเขตส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมล่าช้าเกินไป ทำให้เกษตรกร ไม่ทราบแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง จะได้เลี้ยงหรือไม่ได้เลี้ยงกุ้งหรือไม่ อย่างไร เพราะการเลี้ยงกุ้งเป็นอาชีพหลัก ในขณะที่จังหวัดข้างเคียงสุพรรณบุรี  แม้มีการประกาศเช่นกัน แต่สามารถเลี้ยงได้ สามารถออกใบเกิด ออกใบตาย ยังต่อทะเบียนมาตรฐานฟาร์มได้  แต่ที่สุพรรณบุรี ไม่สามารถทำได้แม้แต่อย่างเดียว  สำหรับการยื่นหนังสือในครั้งนี้ นอกจากการช่วยเหลือเยียวยาผลกระทบจากน้ำท่วมแล้ว ขอให้สั่งการประมงจังหวัดรับขึ้นทะเบียนและต่อทะเบียนฟาร์ม(ทบ.1) พร้อมเร่งแก้ปัญหาการออกใบกำกับการซื้อขายลูกพันธุ์สัตว์น้ำ และใบกำกับซื้อขายสัตว์น้ำให้แก้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อลดการเอาเปรียบของกลุ่มพ่อค้า






           ด้านนายพิภพ  บุญธรรม  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า ทางจังหวัดโดยหน่วยงานที่เกี่ยว ประกอบด้วย ประมงจังหวัด  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กอ.รมน.กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยมณฑลทหารบกที่ 17 ได้มีการติดตามและตั้งคณะกรรมการดูแลมาโดยตลอดตั้งแต่มีการยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งบางจังหวัดก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน เป็นความเกี่ยวเนื่องในเรื่องของเศรษฐกิจ  เรื่องของภัยพิบัติ ฉะนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนกระบวนการของกฎหมาย /ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ล้วนอยู่ในห้วงของการบริหารจัดการ  ทั้งนี้ความเดือดร้อนของเกษตรกร ทางจังหวัดได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาการให้ความช่วยเหลือเป็นระยะๆ ต่อไป แต่ขณะนี้ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้นอีกด้วย เป็นความเดือดร้อนที่ทับถมเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามหลังจากทางจังหวัดรับเรื่องไว้แล้วได้เชิญตัวแทนผู้เลี้ยงกุ้งเข้าร่วมประชุม เพื่อหาข้อยุติระดับหนึ่ง ของแนวทางการแก้ไข ที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เชื่อมั่นว่าทีมงานของพวกเราจะช่วยกันขับเคลื่อนแก้ไขปัญหานี้ได้









เกรียงไกร  ก่อเกียรติตระกูล  บรรณาธิการข่าว        
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น: