วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สระบุรี พล.ต. อัศวิน บุญธรรมเจริญ ตรวจความพร้อม กองร้อยบรรเทาสาธารณภัย





             เมื่อ 20 พ.ค. 60 พล.ต. อัศวิน บุญธรรมเจริญ  ผบ.มทบ.18 พร้อมด้วย พ.อ.อภิชัย  วิไลเนตร เสธ.มทบ.18 , พ.อ.สมศักดิ์  รักษาแสง ผบ.กรม นร.รร.ม.ศม,  พ.อ.เพิ่มศักดิ์  ขุนโขลน รองผอ.กอ.รมน.สบ.  ร่วมตรวจความพร้อมของกองร้อยบรรเทาสาธารณภัย เพื่อเตรียมการช่วยเหลือประชาชน  ประกอบด้วย 3 หมวดบรรเทาสาธารณภัย พร้อม เจ้าหน้าที่สารวัตรทหาร,เจ้าหน้าที่เสนารักษ์ บริการด้านการแพทย์ โดยการจัดกำลังจาก มทบ.18  และ ศม. เพื่อเตรียมความพร้อมกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติอุทกภัย/วาตภัยในพื้นที่   ณ ลานอเนกประสงค์ มทบ.18 อ.เมือง จ.สระบุรี





              เนื่องจากในสถานการณ์ในปัจจุบัน ได้เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ในหลายพื้นที่ของประเทศไทยเกิดน้ำท่วม และลมกรรโชกแรง ในหลายพื้นที่ หลายจังหวัด ทำให้บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก  "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี มีความกังวลและห่วงใย ต่อสภาวะฝนตกหนัก ที่อาจสร้างความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชน ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานร่วมกัน ดูแลช่วยเหลือประชาชนอย่างดีที่สุดโดยทันที เน้นการป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะได้สั่งการให้กองทัพ ส่งหน่วยทหารในพื้นที่ เข้าดูแลช่วยเหลือประชาชนในทุกด้าน เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ ภัยพิบัติต่างๆที่เกิดกับประชาชน






              พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท   ผู้บัญชาการทหารบก ได้สั่งการให้หน่วยทหารในทุกพื้นที่ ส่งกำลังพลพร้อมเครื่องมือบรรเทาสาธารณะภัย รถยนต์บรรทุก เรือท้องแบนและเครื่องมือหนักทางด้านงานช่าง เข้าคลี่คลายสถานการณ์น้ำท่วมในทุกพื้นที่แล้ว





             กองทัพภาคที่ 1 โดย พล.ท.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ได้สั่งการให้หน่วยขึ้นตรงกองทัพภาคที่ 1 ทุกหน่วย เตรียมความพร้อมกำลังพลฯและยุทโธปกรณ์ ทำการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังในพื้นที่รับผิดชอบอย่างใกล้ชิด พร้อมออกปฏิบัติได้ทันที เมื่อเกิดสถานการณ์น้ำท่วม โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล กองทัพภาคที่ 1 ได้ประสานงาน บูรณาการ การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด กับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรุงเทพมหานคร เพื่อคลี่คลายสถานการณ์อุทกภัยอย่างเต็มที่




                โดยได้ดำเนินการที่สำคัญดังนี้   1.การอพยพคนและสิ่งของไปที่ปลอดภัย ดูแลช่วยเหลือเครื่องอุปโภคบริโภค 2.การใช้เครื่องมือหนัก เข้าซ่อมแซมสะพาน หรือเส้นทางต่างๆที่เสียหายจากการถูกน้ำกัดเซาะ3..การเร่งระบายและผลักดันน้ำ ออกจากพื้นที่น้ำท่วม เช่น ย่านการค้า บ้านเรือนประชาชน โรงพยาบาล เป็นต้น4.การส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบการทำงานของเครื่องสูบน้ำตามสถานีสูบน้ำ 5.พื้นที่ใดมีน้ำท่วมขังรอการระบาย นอกจากจะเข้าช่วยเหลืออพยพคนสิ่งของแล้ว ยังได้เข้าช่วยอำนวยความสะดวกด้านการสัญจรเพื่อลดอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย



 


(คนธรรมดา  ม้าตัวเดียว)   บรรณาธิการข่าว     รายงาน   
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น: