วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ภาคีเครือข่าย จัดโต๊ะกลม ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการพัฒนา " ชีวิตคนไทย ปลอดภัย ห่างไกลโรค "




              คุณมะนาว มัณฑิตา วงษ์พิทักษ์โรจน์  พร้อมด้วย อาจารย์ธนัช ศิรดุลยกร  ผู้บริหาร บริษัท เอ็มทีทีทรัพย์เจริญ จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ ตรานกแก้วคิงส์พลัส  ร่วมสนับสนุนการจัดประชุมโต๊ะกลม ภาคีเครื่อข่าย ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการพัฒนา "  ชีวิตคนไทย ปลอดภัย ห่างไกลโรค "  ณ  ศูนย์ประชุมชั่วคราว บ้านไร่ในสวน โดยมีเครือข่าย ภาครัฐ ภาคประชาชน  นักวิชาการ  ผู้บริหารสถานศึกษา และ ผู้แทนสื่อมวลชน ร่วมอภิปราย






              วันที่ 6 ธันวาคม  2559  เวลา 11.00 น.   ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูล ณ อยุธยา  คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล  มอบหมาย  ดร.เริงวิชญ์ นิลโคตร  อาจารย์ชาตรี ลุนดำ  นักทรัพยากรบุคคล สังกัด งานยุทธศาสตร์ และการบริหารพัฒนาทรัพยากร  มหาวิทยสลัยมหิดล  ร่วมประชุมกับภาคีเครื่อข่าย โครงการส่งเสริมการพัฒนา "  ชีวิตคนไทย ปลอดภัย ห่างไกลโรค "  โดยมี  ป้าลำพึง ศรีสาหร่าย  ปราชญ์ชุมชน เจ้าของแปลงผักปลอดภัย ในมหาวิทยาลัยมหิดล นายวีระ หวลบุดตา  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  ประธานโครงการนาแปลงใหญ่ต้นแบบ อ.บางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี  นายธีระยุทธ ศรีปิยะรัตนกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนเพิ่มวิทยา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม  เรือตรีธรรมรัตน์ อรุณสินประเสริฐ ประธานชุมชนหมู่บ้านสหพร และที่ปรึกษาสหกรณ์หมู่บ้านสหพร จำกัด  นายวีระ ผ่องภักดี ตัวแทนผู้จำหน่ายปุ๋ย อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี   นายลิขิต รักอยู่  บรรณาธิการ นสพ.สมุทรสาครนิวส์ จ.สมุทรสาคร นายเรวัติ  น้อยวิจิตร ผช.หน.กองบรรณาธิการ นสพ.พลังชน และ ผู้บริหารกลุ่มสื่อท้องถิ่นออนไลน์  คุณมะนาว มัณฑิตา วงษ์พิทักษ์โรจน์  พร้อมด้วย อาจารย์ธนัช ศิรดุลยกร  ผู้บริหาร บริษัท เอ็มทีทีทรัพย์เจริญ จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ ตรานกแก้วคิงส์พลัส  ร่วมสนับสนุนการจัดประชุม ภาคีเครื่อข่าย ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการพัฒนา "  ชีวิตคนไทย ปลอดภัย ห่างไกลโรค "  
     




             ป้าลำพึง ศรีสาหร่าย  ปราชญ์ชุมชน เจ้าของแปลงผักปลอดภัย ในมหาวิทยาลัยมหิดล วัย 57 ปี กล่าวว่า .. ป้าใช้เวลา 8 ปี ตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบัน  บนพื้นที่ 4 ไร่ หน้าตึกคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล แห่งนี้ เพื่อสร้างวิถีชีวิต ความเป็นอยู่แบบพอเพียง ตามรอยพ่อ .. ปลูกพืชใบ และ พืชผักสวนครัว กว่า 20 ชนิด  ทั้ง ผักคะน้า ผักกวางตุ้งชนิดต่างๆ ทั้ง กวางตุ้งไต้หวัน กวางตุ้งต้น กวางตุ้งดอก นอกจากนี้ มีผักกาดขาว หัวไชเท้า ผักขมเขียว ผักขมแดง แฟง มะเขือยาว มะเขือเปราะ ถั่ว โหระพา กะเพรา ผักสลัด และดอกชมจันทร์ โดยพืชผักทุกชนิด เป็นพืชผักปลอดภัย ขายในราคายุติธรรม ป้าได้คุยกับคุณมะนาว เห็นถึงความตั้งใจดี ป้าจึงอยากเข้าไปร่วมด้วย เพราะถ้าทำกันเป็นกลุ่มใหญ่ ก็จะช่วยบ้านเมืองได้มาก และเห็นว่าพวกเขาทำจริง  ก็อยากให้โครงการนี้ ขยายไปสู่คนไทยทั่วประเทศได้เร็วขึ้น







                ดร.เริงวิชญ์ นิลโคตร  อาจารย์ประจำคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทางคณะเทคนิคการแพทย์ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสว่า  .. ปัจจุบัน คนไทย บริโภคอาหารมีสารตกค้าง ทางมหาวิทยาลัยมหิดล น่าจะช่วยกันคิดเรื่องนี้ได้นะ  .. กลับกันมา ก็ยังมาคิดกันว่า พระองค์ท่านทรงมีพระราชดำรัสแล้ว ทางมหาวิทยาลัย ต้องเดินหน้าเรื่องนี้กันแล้ว รอช้าไม่ได้แล้ว   จึงได้เกิดเหตุการณ์ การแถลงข่าวเรื่องสารตกค้างในพืช ช่วงเทศกาลกินเจ เป็นข่าวใหญ่โต คึกโครม มีผู้นำไปโพสต์ในเฟสบุ๊คและแชร์กันไปสนั่นกว่า 4 แสนแชร์ มียอดวิวกว่า 10 ล้านวิว ทำให้เรื่องอาหารปลอดภัย กลายเป็นประเด็นร้อน ที่ทุกกระทรวง ทบวง กรม หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นเร่งด่วน ที่ต้องรีบแก้ไข  ซึ่งผมเอง ก็เพิ่งจะได้พบกับ คุณมะนาว เมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา แต่หลังจากได้พูดคุยกัน ก็เห็นว่า เป็นเรื่องเดียวกัน ที่สามารถ ร่วมงานกันได้ 

                   




          
              อาจารย์ชาตรี ลุนดำ  นักทรัพยากรบุคคล สังกัด งานยุทธศาสตร์ และการบริหารพัฒนาทรัพยากร  มหาวิทยสลัยมหิดล  กล่าวว่า  มหาวิทยาลัยมหิดล  โดยคณะเทคนิคการแพทย์ ทำอะไรได้มากมาย หลายอย่าง ตามที่ทางภาคีเครือข่าย โครงการส่งเสริมการพัฒนา "  ชีวิตคนไทย ปลอดภัย ห่างไกลโรค " ทั้งชุดตรวจสอบสารตกค้าง ที่สามารถนำลงไปตรวจสอบได้ถึงแปลงเกษตรกร หากทางกลุ่มต้องการ แต่แนวทางที่คิดกัน คงเป็นรูปแบบของการร่วมคิด ร่วมทำ ลงไปดูกันจริงๆ ว่าทำกันอย่างไร  ขั้นตอนเป็นอย่างไร เรื่องผลตรวจจากห้องปฏิบัติการ ไม่ใช่เรื่องยาก ส่งของมา เข้าห้องตรวจ ก็ได้ผลกลับไป แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายตามระเบียบของทางมหาวิทยาลัย  แต่เราคงมามองกันที่ภาพรวมว่า โครงการนี้ จะเดินอย่างไร ให้บรรลุเป้าหมาย ได้ดี และ รวดเร็ว เพราะนั่นหมายถึง คุณภาพชีวิต ของคนไทย จะได้ปลอดภัย ห่างไกลโรค .. 








           คุณมะนาว มัณฑิตา วงษ์พิทักษ์โรจน์   ได้กล่าวถึงที่มาของโครงการว่า ..  จากเจตนารมณ์ ที่มีความมุ่งมั่นและตระหนักในความสมดุลย์ ในระบบสุขภาพของคนไทย รวมถึงการเข้าถึงเครือข่ายของการบริโภคที่เป็นธรรม  ทั้งด้านมูลค่า ราคา และคุณค่าทางโภชนาการ ของประชาชนที่ยุติธรรม และพึงประสงค์  จึงเกิดการรวมตัวกันของกลุ่มเครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการพัฒนา "  ชีวิตคนไทย ปลอดภัย ห่างไกลโรค "   ทั้งนี้โดยอาศัยฐานพลังเครือข่ายผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทั้งระดับองค์กรภาครัฐ  ปราชญ์ชุมชน เครือข่ายการจัดการสหกรณ์  นักวิชาการ  บริษัทเอกชน  ผู้แทนสื่อมวลชน  เข้าร่วมเป็นภาคีตรวจสอบกระบวนการการมีส่วนร่วมเพื่อการผลิต และสร้างมาตรการร่วมกันให้เกิดการบริโภคอาหารปลอดภัย  เพื่อเป้าหมายของการห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ  นอกจากนี้ กลุ่มเครือข่ายฯ ได้สร้างพื้นที่นำร่อง จากความตั้งใจ และ มีวิสัยทัศน์ เพื่อขับเคลื่อนให้การดำเนินการภาคสนาม มีรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมของพื้นที่นำร่องนั้นๆ โดยเริ่มจากพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม  สุพรรณบุรี  เชียงราย และ บุรีรัมย์


             





           ช่วงพักรับประทานอาหารกลางวัน วันนี้  อาจารย์ชาตรี ลุนดำ เจ้าถิ่น ได้เลือกสั่งอาหาร จากร้านอร่อยในพื้นที่ มีเมนูเด็ด  ขนมจีน แกงเขียวหวาน  รสชาดภาคกลาง อร่อยมาก  ต้มจืด  และ ผัดกระเพรา กินกันแบบง่ายๆ สไตล์ คนไทย หัวใจลูกทุ่ง ในระหว่างอาหาร  มีคลิปสัมภาษณ์เกษตรกร จาก 19 จังหวัด ภาคอีสาน ในแปลงทดลอง ของผลิตภัณฑ์ ตรานกแก้วคิงส์พลัส มาให้ชมกันด้วย  ก็เรียกกันว่า  จัดเต็มกันเลยทีเดียว











          หลังอาหารกลางวัน  อาจารย์ธนัช ศิรดุลยกร  ผู้บริหาร บริษัท เอ็มทีทีทรัพย์เจริญ จำกัด ได้กล่าว แนะนำผลิตภัณฑ์ ที่มาที่ไปของงานวิจัยชิ้นนี้ ว่า เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และมีแรงบรรดาลใจอย่างไร ถึงเกิดโครงการนี้ขึ้น  โดย อาจารย์ธนัช กล่าวถึง .. ความมุ่งหวังของโครงการ ต่อสังคมไทย ว่าจะสร้างมาตรฐานชีวิตของคนไทยได้ปลอดภัย  ได้บริโภคพืช ผัก ผลไม้ รวมถึงข้าวปลาอาหาร จากเกษตรกร ผูัมุ่งมั่นผลิตสินค้าปลอดภัย สู่ผู้บริโภคที่สามารถเข้าถึงได้ ในราคายุติธรรม มีคุณค่าทางโภชนาการ และปลอดภัยต่อสุขภาพ ที่สามารถวัดผลได้  ตามค่ามาตรฐานจากห้องปฏิบัติการ และ ผ่านการจัดจำหน่าย ด้วยเครือข่ายตลาดคุณธรรม  ผ่านแนวคิดการร่วมมือรับรองแบบสังคมปฏิบัติการ  









             จากนั้น    อาจารย์ชาตรี ลุนดำ  ได้ขอให้ ป้าลำพึง ศรีสาหร่าย  ปราชญ์ชุมชน เจ้าของแปลงผักปลอดภัย ในมหาวิทยาลัยมหิดล ได้หว่านสารปรับปรุงดิน ตรานกแก้วคิงส์พลัส ลงในร่องสวนเป็นปฐมฤกษ์ ให้อีกด้วย ก็นับเป็นการ เปิดประชุมโต๊ะกลม ภาคีเครือข่าย  ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการพัฒนา "  ชีวิตคนไทย ปลอดภัย ห่างไกลโรค "  ครั้งที่ 1 ที่คุ้มค่าที่สุด







ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์   รายงาน   
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445
               

ไม่มีความคิดเห็น: