วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

มุกดาหาร ชาวบ้านบาก จัดสรงน้ำพระที่ภูดานยาว เขต อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว



 นายหาญ บันตะบอน นายก อบต.บ้านบาก อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร จ.ส.อ.พัฒนา สีมืด ร.3 พัน 3 ผบ.ชป.พท.ที่ 1 รับผิดชอบ ต.ดอนตาล และต.บ้านบาก นางวัฒนพร บุตรสันเทียะ ผอ.รพ.สต.บัานบาก  ร้อยเอกวุฒิไกร คนยง กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๓ / ๓  ท่านพระครูถ่านผู้ดูแลเขตนีั นำชาวบ้าน สรงน้ำพระที่ภูดานยาว เขต อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัวจว.มุกดาหาร






          16  พฤษภาคม 2559 เสธฯแป๊ะ  อำนวย  เดชทองคำ  รายงานว่า ที่ภูดานยาว เขต อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัวจว.มุกดาหาร มีชาวบ้าน ร่วมกันสรงน้ำพระ โดยมี  นายหาญ บันตะบอน นายก อบต.บ้านบาก จ.ส.อ.พัฒนา สีมืด ร.3 พัน 3 ผบ.ชป.พท.ที่ 1 รับผิดชอบ ต.ดอนตาล และต.บ้านบาก นางวัฒนพร บุตรสันเทียะ ผอ.รพ.สต.บัานบาก  ร้อยเอกวุฒิไกร คนยง กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๓ / ๓  ท่านพระครูถ่านผู้ดูแลเขตนีั ร่วมงาน






            อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว มีเนื้อที่รวมทั้งหมด ประมาณ 144,375 ไร่ หรือ 231 ตารางกิโลเมตร มีสภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนของเทือกเขาหลายๆ ลูกเทือเขาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาใหญ่ที่เรียกว่า เทือกเขาภูพาน ทอดตัวเป็นแนวยาว จากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลงสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยแบ่งที่ราบสูงโคราชออกเป็น 2 แอ่ง ทางตอนเหนือคือแอ่งสกลนคร ส่วนทางตอนใต้เป็นแอ่งใหญ่ คือ แอ่งโคราช – อุบล ลักษณะของหินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เป็นมาในอดีตภายในเขตอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ก่อให้เกิดจุดสนใจทางด้านการศึกษาทั้งทางธรณีวิทยาและทาง ภูมิศาสตร์โดยเฉพาะการเกิดการชะล้างของหอนทราย ทำให้มีหน้าผา บ่อรูปหม้อ (Pothole) หรือแอ่งหินบนยอดเขา และการเกิดรอยแตกของหิน (Fault) ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวนี้ นอกจากจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นสถานที่ศึกษาทางด้านการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติได้อีกด้วย 



            

            การเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอกของเปลือกโลกจากอดีตจนถึงปัจจุบันทำให้อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว เกิดมีภูเขาต่างๆมากมาย เช่น ภูหมู ภูแผงม้า ภูไม้ซาง ภูของ ภูอัครอาด ภูตาเฟีย ภูผาด่าง ภูผาหอม ภูโป่งเปือย ภูหนาด ภูกะซะ ภูหัวนาค ภูผาสะเงาะ ภูสะลุน ภูถ้ำพระ ภูสระดอกบัว เหล่านี้ เรียงตัวประกอบขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างขนาดเล็กทางธรณีวิทยารูปเรื่อคว่ำซึ่งทอดตัวในแนวเดียวกับเทือกเขาใหญ่ภูพาน โดยโครงสร้างขนาดเล็กนี้มีการเอียงเทไปทางทิศาตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งประกอบด้วยป่าอันอุดมสมบูรณ์หลายชนิด พื้นที่หลายแห่งมีลานหินขนาดใหญ่ ชาวท้องถิ่น เรียกว่า “ดาน” กระจายอยู่ตามยอดเขาต่าง ๆ และบนยอดเขาภูสระดอกบัวมีแอ่งหินขนาดความกว้างประมาณ 5 – 6 เมตร ลึกประมาณ 2 เมตร มีดอกบัวซึ่งเป็นดอกบัวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นดอกบัวเผื่อนมีสีขาวแซมด้วยสีชมพูอ่อน กระจายตามแอ่งบัวจึงเป็นที่มาของอุทยานแห่งชาติ ภูสระดอกบัว 





            นอกจากนั้นยังมี ยอดภูไม้ซางเป็นยอดเขาสูงสุดประมาณ 494 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยอดภูเขาอื่น ๆ มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 350 - 450 เมตร พื้นที่เหล่านี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร หลายสาย เช่น ห้วยทม ห้วยไห ห้วยตูบ ห้วยก้านเหลือง ห้วยลำกลาง ห้วยขี้เหล็ก ห้วยหินขัว ห้วยจิงหิง เป็นต้น ลำธารเหล่านี้ไหลลงสู่พื้นราบ รายรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งราษฎรที่อยู่โดยรอบอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ใช้อุปโภค บริโภค และทำการเกษตรตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน




             ทรัพยากรทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายเผ่าภูไท ข่า กะเลิง และ ไทอีสาน ซึ่งจะมีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างจะแตกต่างกันไปในแต่ละชุมชนท้องถิ่น ทั้งสภาพเศรษฐกิจโดยส่วนใหญ่ จะเป็นการพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประกอบอาชีพของราษฎรในพื้นที่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย ปัจจุบันนิยมปลูกยางพารา และเข้ามาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ทำให้มีรายได้ในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงบ้างบางส่วน ราษฎรส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของคนอีสานเอาไว้อย่างเหนี่ยวแน่น





            โดยเฉพาะประเพณีงานบุญประจำปี และตาม ฮีตครองที่ปฏิบัติร่วมกันมาก่อนในอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น ประเพณีสงกรานต์ บุญบั้งไฟ ลอยกระทง เข้าพรรษา ออกพรรษา บุญบูชากองข้าวเปลือก เป็นต้น และได้มีการสำรวจพบแหล่งโบราณสถานซึ่งมีความสำคัญในยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ เป็นที่ชุมนุมในการดำรงชีวิตของกลุ่มชนที่อยู่บนที่สูงโดยเฉพาะกลุ่มชนที่อยู่บนเทือกเขาภูพานที่ซึ่งชุมชนใช้ในการประกอบพิธีกรรมที่ว่านี้ก็คือภูผาแต้มบริเวณที่มีภาพเขียนโบราณภาพเขียนสีเหล่านี้มีอายุประมาณ 3,000 - 4,000 ปีมาแล้ว นั้นคือ อยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และนอกจากนี้ยังมีการสำรวจพบภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ภาพเขียนสีที่พบนี้พอจะแบ่งคร่าวๆได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 
-กลุ่มภาพฝ่ามือ -กลุ่มภาพลวดลายเรขาคณิต 





           อำนวย  เดชทองคำ  ผู้สื่อข่าวพิเศษ จ.มุกดาหาร  รายงาน
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น: