วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557
สมุทรสาคร เมืองประมง ดงโรงงาน ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์
ประวัติความเป็นมา
จังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดชายทะเล ตั้งอยู่ปากแม่น้ำท่าจีน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ กล่าวไว้ว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมุทรสาครเดิมเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีชาวจีนนำเรือสำเภาเข้ามาจอดเทียบท่าค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าและได้พักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่า “บ้านท่าจีน” ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวไทย ต่อมาในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. 2099) ได้โปรดให้ยกฐานะ “บ้านท่าจีน” ขึ้นเป็น “เมืองสาครบุรี” เพื่อเป็นหัวเมืองสำหรับเรียกระดมพลเวลาเกิดสงคราม และเป็นเมืองด่านหน้าป้องกันข้าศึกศัตรูที่จะเข้ามารุกรานบุกรุกทางทะเล
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรด ให้เปลี่ยนชื่อ “เมืองสาครบุรี” เป็น “เมืองสมุทรสาคร” ซึ่งมีความหมายว่า “เมืองแห่งทะเลและแม่น้ำ” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2448) ทรงปฏิรูปการปกครองมีการจัดระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นมณฑลเทศาภิบาล และได้ทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ท้องถิ่น โดยใช้รูปแบบการปกครองแบบสุขาภิบาล จึงได้มีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะ “ตำบลท่าฉลอม” เป็น “สุขาภิบาลท่าฉลอม” จังหวัดสมุทรสาคร เป็นสุขาภิบาลที่ตั้งขึ้นในหัวเมืองเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ 6 (พ.ศ. 2456) โปรดเกล้าให้ทางราชการเปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ทั่วทุกแห่ง ในพระราชอาณาจักร “เมืองสมุทรสาคร” จึงได้เปลี่ยนเป็น “จังหวัดสมุทรสาคร” มาจวบจนปัจจุบันนี้
ส่วนคำว่า “มหาชัย” ที่คนทั่วไปชอบเรียกกันนั้น เป็นชื่อคลองที่สมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 แห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้ขุดคลองลัดจากเมืองธนบุรี เป็นแนวตรงไปออกปากน้ำเมืองสาครบุรีแทนคลองโคกขามที่คดเคี้ยว แต่ยังไม่ทันเสร็จทรงสวรรคตเสียก่อน จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 9 (ขุนหลวงท้ายสระ) ได้โปรดให้ขุดคลองต่อจนแล้วเสร็จ และได้พระราชทานนามว่าคลองมหาชัย ซึ่งต่อมา ณ บริเวณฝั่งซ้ายปากคลองได้เกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้นชื่อว่า “มหาชัย” จึงเป็นที่นิยมเรียกขานแต่นั้นเป็นต้นมา
ตราประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัดสมุทรสาคร เป็นรูปเรือสำเภาจีนแล่นในทะเล ด้านหลังเป็นโรงงานและปล่องไฟ ซึ่งหมายถึง ความรุ่งเรืองที่มีมาอดีตถึงปัจจุบัน
ตราประจำจังหวัดสมุทรสาคร เริ่มใช้เมื่อ พุทธศักราช 2483 ในสมัยที่หลวงวิเศษภักดี (ชื้น วิเศษภักดี) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
ของดีสมุทรสาคร
แหล่งดูนกและพื้นที่ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน
หมู่บ้านประมง
ปากอ่าวไทยเป็นช่วงรอยต่อระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็ม เพราะเป็นปลายทางของแม่น้ำท่าจีนก่อนไหลลงสู่อ่าวไทย จากท่าเรือมหาชัย ซึ่งเป็นชุมทางการคมนาคมทางน้ำ เส้นทางนี้จะพาเราสัมผัสบรรยากาศเมืองประมงที่คึกคักมีสีสัน ทั้งประมงพื้นบ้านและประมงขนาดใหญ่ในระดับอุตสาหกรรม มีการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลน ตามแนวชายฝั่ง มีการเลี้ยงหอยแมลงภู่ และการอนุรักษ์หอยสองฝา วิถีชีวิตของชาวประมงที่นี่จะเรียบง่าย เลี้ยงชีพด้วยการหาปลา เพื่อส่งขายและแปรรูปอาหารทะเลจำหน่าย
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง หรือเจ้าพ่อวิเชียรโชติ สร้างแบบเก๋งจีน ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับป้อมวิเชียรโชฎก เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งประชาชนเคารพนับถือ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวประมงในจังหวัด โดยก่อนออกเรือเพื่อไปหาปลาทุกครั้ง ชาวประมงจะต้องไปทำพิธีสักการบูชา และจุดประทัดบริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพื่อเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ใกล้กันเป็นยังมีอาคารแบบไทย ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปกร ภายในประดิษฐาน เสาหลักเมืองที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร
วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ตั้งอยู่ริมคลองดำเนินสะดวก อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร มีหลวงพ่อโตวัดหลักสี่เป็นพระพุทธรูปโบราณสมัยอู่ทองเนื้อหินทรายแดงฉาบปูน ปางมารวิชัย มีพระพักตร์เอิบอิ่มยิ้มละไมหน้าตักกว้าง 81 นิ้ว สูง 99 นิ้ว (เป็นที่อัศจรรย์ถึงสัดส่วนของหลวงพ่อโตที่ช่างสมัยโบราณได้กำหนดไว้ล้วนเป็นเลขมงคลทั้งสิ้น เช่น ขนาดความกว้างของหน้าตักเมื่อนำตัวเลขมารวมกันจะได้ 9 ส่วนสูงรวมกันได้ 9 อีก เมื่อนำส่วนกว้างรวมกับส่วนสูงก็ได้ 9 ซึ่งเลข 9 คนทั่วโลกถือว่าเป็นเลขสุดยอดของเลขมงคล) หลวงพ่อแฟง เจ้าอาวาสวัดดอนมโนรา ต.ขุนพิทักษ์ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นศิษย์เอกหลวงพ่อคงวัดบางกะพ้อมเกจิชื่อดังในสมัยนั้น ได้เดินทางไปพบที่วัดร้างแห่งหนึ่งบริเวณริมแม่น้ำแม่กลอง อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม เมื่อตรวจด้วยทางในแล้ว พบว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากจึงทำพิธีอัญเชิญมาประดิษฐานยังวัดดอนมโนรา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2470 หลวงพ่อแฟงได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหลักสี่ จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปโบราณดังกล่าวมาประดิษฐานในวิหารหลังคามุงจากหน้าวัดหลักสี่บริเวณริมคลองดำเนินสะดวก ชาวบ้านคงเห็นว่าเป็นพระพุทธรูปองค์แรก และองค์โตที่สุดในลุ่มน้ำคลองดำเนินสะดวก จึงพากันขนานนามว่าหลวงพ่อโตวัดหลักสี่ ตั้งแต่นั้นมา
เป็นตำนานเล่าขานจากรุ่นสู่รุ่นถึงปาฏิหาริย์ หลวงพ่อโตในวิหารมุงจากไม่หยุดหย่อน เคยมีชาวบ้านหลายรายอ้างว่ามองผ่านทุ่งนา เห็นดวงไฟลูกใหญ่พุ่งจากวิหารขึ้นสู่ท้องฟ้าหลายครั้ง ต่างเชื่อกันว่าหลวงพ่อโตสำแดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ในสมัยก่อนพ่อค้าแม่ค้าแม่ค้าล่องเรือบรรทุกผักผลไม้เต็มลำเรือผ่านหน้าวิหาร ก็ไม่ลืมที่จะพนมมือเหนือหัวขอพรให้ขายของดีๆ แล้วตักน้ำคลองบริเวณหน้าวิหารไปทำน้ำมนต์พรมไปบนสินค้าในเรือ พืชผักในเรือก็ขายดีอย่างเหลือเชื่อมีเท่าไหร่ก็ขายหมด พอขากลับก็ไม่ลืมที่จะซื้อ ผลไม้ พวงมาลัยมาถวายและที่ขาดไม่ได้คือประทัดจุดกันดังสนั่นหวั่นไหวไปทั่วคุ้งน้ำ ในตอนกลางคืนก็ถึงคิวคอหวยนักเสี่ยงโชค แห่มาขอโชคขอลาภ ทั้งเขย่าเซียมซีขอเลขเด็ดหรือกราบไหว้ขอให้ถูกหวยรวยทรัพย์ ในสมัยก่อนมีทั้งหวย ก ข หวยจับยี่กี เป็นที่นิยมกันมาก เล่าขานกันว่าร่ำรวยเป็นเศรษฐีกันจำนวนมาก จากนั้นทั้งผลไม้ ขนม นมเนย ไข่ต้ม พวงมาลัยว่าวจุฬา จุดประทัดมาถวายกันไม่เว้นแต่ละวัน ปาฏิหาริย์และความศักดิ์ของหลวงหลวงพ่อโตแผ่ไพศาลไปหลายจังหวัด ทุกวันจะมีประชาชนจากทั่วสารทิศมากราบไหว้ขอพรและปิดทองจนองค์หลวงพ่อหนานุ่มเป็นสีทองเหลืองอร่ามไปทั้งองค์โดยเฉพาะงานปิดทองประจำปีที่กำหนดจัดขึ้น แรม 3 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี จะมีพิธีแห่หลวงพ่อโตในคลองดำเดินสะดวกมีเรือจากชาวบ้านนับพันลำมาร่วมในขบวนแห่ด้วย วัดหลักสี่จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวคลองดำเนิน ไหว้พระศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดสมุทรสาคร ใครที่มีโอกาสไปเที่ยวที่อำเภอบ้านแพ้ว ถ้าไม่ได้แวะนมัสการหลวงพ่อโตวัดหลักสี่ คนที่นั่นถือว่าไปไม่ถึงบ้านแพ้ว
ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำสมุทรสาคร
ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำสมุทรสาคร เป็นศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำสัตว์น้ำน้องใหม่ ตั้งอยู่ที่เดียวกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร ที่ศูนย์ฯนี้นับว่าเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านทะเลให้กกับชาวจังหวัดท้องถิ่น รวมถึงนักท่องเที่ยวที่มีโอกาสแวะมาเที่ยวที่จังหวัดสมุทรสาครนี้ ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำสมุทรสาครมีขนาดไม่ใหญ่มากเมื่อเทียบกับศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่จังหวัดอื่นๆ แต่จุดเด่นอยู่ที่มีรูปปั้นปลาวาฬบรูด้า สูง 17 เมตร ตั้งอยู่บนภูมิทัศน์หน้าศูนย์ฯ ให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปคู่กับสัญลักษณ์ที่เป็นจ้าวแห่งท้องสมุทรในน่านน้ำไทย ภายในศุนย์จัดแสดงปลาและสิ่งมีชีวิตทางทะเลต่างๆ จัดแสดงอย่างเป็นส่วนๆ มีทั้งเป็นตู้ และแทงค์กลมภายใน
จุดเด่นอีกจุดอยู่ที่ทางเดินอุโมงค์ใต้น้ำที่ถึงแม้จะมีขนาดเล็ก แต่ก็สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยวเด็กๆได้ไม่น้อย ที่นี่ยังมีโชว์วัดแสดงการให้อาหารปลาที่อุโมงค์ทุกวันเสาร์อาทิตย์ เวลา 13:00 น. เรียกได้ว่าศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำสมุทรสาครเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักท่องเที่ยวที่มากันเป็นครอบครัว ได้พาลูกๆหลานๆได้สัมผัสสิ่งมีชีวิตในทะเลได้อย่างใกล้ชิด
อุทยานพระโพธิสัตว์กวนอิม
อุทยานพระโพธิสัตว์กวนอิม ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร พระโพธิสัตว์กวนอิม รูปหล่อพระโพธิสัตว์กวนอิมปางเมตตา หล่อจากทองเหลืองปิดด้วยทางคำเปลวขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหลังวัดสุทธิวาตวราราม สร้างในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ทรงครองราชย์ครบรอบ 50 ปี ใน พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระเกียรติ องค์เจ้าแม่กวนอิมสูง 9.98 เมตร หล่อด้วยโลหะแล้วทาสีสวยงามมากพระหัตถ์ขวาเทน้ำจากคนโทเป็นน้ำมนต์ ประทับอยู่บนฐานดอกบัวมีมังกรโอบโดยรอบอยู่บนภูเขาจำลอง สูง 8 เมตร และมีถ้ำอยู่ภายในด้วย และในช่วงเดือนพฤศจิกายนจะมีงานประเพณีนมัสการเจ้าแม่กวนอิมทุกปี
จุดชมโลมาและวาฬที่ศาลมัจฉานุ
บริเวณปากอ่าวมหาชัย ต.โคกขาม อ.เมืองสมุทรสาคร เป็นสถานที่เต็มไปด้วยปลาโลมา โดยเฉพาะในช่วงที่ลมหนาวพัดเข้าสู่อ่าวไทย สายลม และน้ำเค็ม ได้พัดพาเอาฝูงปลาโลมาเข้ามาจำนวนมาก เป็นสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจ เป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ได้พบเห็น คนที่เชื่อไสยาศาสตร์ก็ว่า ฝูงปลาโลมามาสักการะเจ้าพ่อที่ศาลมัจฉานุ
วัดเจษฎาราม
ตั้งอยู่ถนนเจษฎาวิถี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สร้างเมื่อใดไม่ปรากฏ บริเวณวัดเดิมเคยเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ ต่อมาในปี พ.ศ.2401 พระอาจารย์น่วม จากวัดแสมดำ คหบดี และชาวบ้านตำบลมหาชัยได้ร่วมกันจัดสร้างขึ้นใหม่ และได้ขนานนามวัดว่า “วัดธรรมสังเวช” ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดกระเจ็ด” เมื่อปี พ.ศ. 2439 เจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 5 (พระมารดาของกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์) ได้มาพักแรมอยู่บริเวณวัด ได้ขนานนามให้วัดใหม่ว่า “วัดเจษฎาราม” ภายในวัดมีสิ่งสำคัญได้แก่ พระประธานในพระอุโบสถปางมารวิชัย พระพุทธรูปยืนปางถวายเนตรหน้าพระอุโบสถ รอยพระพุทธบาทจำลอง ต้นศรีมหาโพธิ์ และรูปหล่อพระครูชัยบริรักษ์ (หลวงปุ่เชย) อดีตเจ้าอาวาสซึ่งเป็นที่เคารพของชาวมหาชัยและตำบลใกล้เคียง ทางวัดจัดให้มีงานเป็นประจำทุกปีในวันแรม 11 ค่ำ เดือน 5
วัดโกรกกราก
ตั้งอยู่ที่ ถนนธรรมคุณากร ตำบลโกรกกราก อำเภอเมือง ฯ จังหวัดสมุทรสาคร สังกัด มหานิกายเป็นวัดเก่าแก่อายุเกือบ 200 ปี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ตามตำนานแต่โบราณไม่ปรากฏว่าสร้างมาแต่ครั้งใดแต่เริ่มมีปรากฏชื่อวัดครั้งแรกในพงษวดารสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่าเรอพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จอดเทียบท่าวัดโกรกกรากเมือครั้งสเด็จเปิดที่ทำการสุขาภิบาลท่าฉลอม และสิ่งสำคัญพระประธานในโบสถ์ นอกจากจะมีพุทธลักษณะงดงามแล้ว ยังแปลกไปจากพระพุทธรูปที่พบเห็นทั่วไป คือสวมแว่นดำ ซึ่งมีที่มาน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ส่วนสาเหตุที่ต้องใส่แว่นดำนั้น เนื่องจากครั้งหนึ่งได้เกิดโรคตาแดงระบาดไปทั่วบ้านโกรกกราก การแพทย์ยังไม่เจริญ รักษากันตามมีตามเกิดแต่ก็ไม่หาย ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาองค์พระศิลาแลงกันมานาน จึงได้พากันมาบนบานศาลกล่าว ถ้าตาหายเจ็บหายแดง จะนำแผ่นทองมาปิดที่ดวงตาขององค์พระศิลาแลง ผล ปรากฏว่าตาหายแดงกันทั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงได้นำแผ่นทองมาปิดที่ตาขององค์พระศิลาแลงเต็มไปหมด
วัดสุทธิวาตวราราม (วัดช่องลม)
ตั้งอยู่ตรงปากอ่าวสมุทรสาคร ตำบลท่าฉลอม ตรงข้ามกับตัวเมือง เดินทางโดยทางหลวงหมายเลข 35 เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 35 เข้าถนนสุทธิวาตวิถีประมาณ 3 กิโลเมตร วัดช่องลมเป็นพระอารามหลวงได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม ด้านหน้าวัดมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินท่าฉลอม และทรงตั้งเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย นอกจากนี้บริเวณวัดยังมีพระโพธิสัตว์กวนอิม ที่ชาวสมุทรสาครสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่ฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี
วัดสุทธิวาตวราราม (วัดช่องลม)
ตั้งอยู่ตรงปากอ่าวสมุทรสาคร ตำบลท่าฉลอม ตรงข้ามกับตัวเมือง เดินทางโดยทางหลวงหมายเลข 35 เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 35 เข้าถนนสุทธิวาตวิถีประมาณ 3 กิโลเมตร วัดช่องลมเป็นพระอารามหลวงได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม ด้านหน้าวัดมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินท่าฉลอม และทรงตั้งเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย นอกจากนี้บริเวณวัดยังมีพระโพธิสัตว์กวนอิม ที่ชาวสมุทรสาครสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่ฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี
ดูรังนกและนกนางแอ่นนับหมื่นในวิหาร
ภายในวิหารพระเทพสาครมุนี (หลวงปู่แก้ว) ของวัดช่องลม มีนกนางแอ่นมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากนับหมื่นตัว เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจเพราะโดยปกตินกนางแอ่นจะทำรังตามผนังถ้ำหินปูนบนเกาะกลางทะเลในที่สูงห่างไกล หรืออยู่ตามคอนโดนกจำลอง แต่ที่นี่มาอาศัยอยู่กันตามธรรมชาติ นอกจากจะได้เห็นรังนกจำนวนมากภายในวิหารรอบๆอย่างละลานตาแล้ว เรายังได้เห็นศิลปะฝาผนังซึ่งเกิดจากที่นกทิ้งมูลไว้เป็นริ้วๆ ส่วนด้านหลังยังมีรูเหนือฝ้าเพดานขนาดหนึ่งตารางเมตร ให้นกอาศัยอยู่อีกจำนวนมาก หากต้องการดูช่วงเวลาที่นกนางแอ่นเข้าออกจากรังเป็นสาย สามารถมาตอนช่วงเช้าที่นกออกจากรังคือราวหกโมงครึ่ง และช่วงที่นกกลับรังคือราวหนึ่งทุ่มจนถึงทุ่มครึ่ง ถึงกระนั้นก็ยังมาเยี่ยมชมตอนกลางวันก็ได้ เราจะเห็นนกที่กำลังหัดบินจำนวนมากเกาะอยู่รอบๆ รวมถึงนกตัวน้อย ที่พลัดหลงกับพ่อแม่ตกลงมาซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลวิหารคอยเก็บมาเลี้ยงจนกว่าจะบินได้ เดิมนกเหล่านี้อาศัยอยู่ที่อุโบสถ หลวงปู่แก้วให้อาศัยอยู่ด้วยความเมตตา จากที่เคยมีจำนวนน้อยๆ แต่ด้วยความเมตตาปราณีที่มีอยู่ในจิตใจของคนที่อยู่ในบริเวณนั้น จึงเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ภายหลังทางวัดวางอุบายให้ย้ายนกเหล่านี้มาอาศัยอยู่ที่วิหารที่ประดิษฐานสังขารหลวงปู่แก้ว มีความเชื่อว่าวันที่นกเข้ามาอาศัยอยู่ในพระอุโบสถครั้งแรก ตรงกับวันคล้ายวันเกิดของหลวงปู่พอดี ปัจจุบันทางวัดจะเก็บรังนกนี้ต่อเมื่อไม่มีนกอาศัยอยู่ในรังแล้วเท่านั้น เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือสังคมและมอบเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กที่ยากจน นอกจากนี้ยังกลายเป็นโมเดลก่อให้เกิดธุรกิจคอนโดนกนางแอ่นเพื่อเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้แก่ชาวชุมชนและแวกวัดช่องลมแถวๆนี้
พื้นที่ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวมหาชัย
ตั้งอยู่ตำบลบางหญ้าแพรก บริเวณปากแม่น้ำท่าจีนฝั่งขวา เดินทางไปตามถนนสุทธิวาตวิถี ประมาณ 2.5 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าไป 6 กิโลเมตร พื้นที่ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวมหาชัยอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าอ่าวมหาชัยฝั่งตะวันตก มีพื้นที่ 3,872 ไร่ เหมาะสำหรับเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า และวิจัยด้านธรรมชาติวิทยาของระบบนิเวศป่าชายเลนและปากแม่น้ำท่าจีน และบริเวณที่ทำการศูนย์มีที่สำหรับกางเต็นท์พักแรม สำหรับผู้ที่สนใจจะร่วมกิจกรรมปลูกป่าชายเลนได้ด้วย
พุทธมณฑลจังหวัดสมุทรสาคร
พุทธมณฑลจังหวัดสมุทรสาคร บนเนื้อที่ ๑๔๓ ไร่ ๘๓ ตารางวา ภายในบริเวณมีเป็นสวนป่าที่มีน้ำล้อมรอบ ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ เดิมใช้ชื่อว่า สวนกาญจนาภิเษก ๕๐ ปี แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช “พระศรีสาครภูมิบาลประทานธรรมสุทัศน์” เป็นพระประธานประจำพุทธมณฑลจังหวัดสมุทรสาคร
หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี
ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลดอนไก่ดี โดยเมื่อประมาณ พ.ศ.2525 กลุ่มชาวบ้านในหมู่บ้านส่วนมากเป็นกลุ่มลูกจ้างของโรงงานเสถียรภาพ หรือเรียกอีกชื่อว่าโรงชามไก่ จึงทำให้เกิดภูมิความรู้ และทักษะขั้นตอนการผลิต ตลอดจนการเขียนเครื่องลายคราม
แต่ต่อมาโรงงานได้ปิดกิจการทำให้กลุ่มลูกจ้างที่ทำงานเกิดการว่างงานจึงมีการรวมกลุ่มกัน เพื่อที่จะทำการผลิตถ้วยชามที่เป็นลายคราม เมื่อปริมาณความต้องการของตลาดมีมากขึ้น จึงมีการพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เกิดเครื่องเบญจรงค์มาจนทุกวันนี้ หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดีได้รับรางวัลสินค้าระดับ ๕ ดาว เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖ รางวัลชุมชนดีเด่นทางด้านการท่องเที่ยว เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐ และรางวัลอื่นๆอีกมากมาย จึงเป็นสิ่งที่รับประกันถึงคุณภาพของเครื่องเบญจรงค์และหมู่บ้านแห่งนี้เป็นอย่างดี
อุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์
อุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์ ตั้งอยู่ตำบลพันท้ายนรสิงห์ ณ บริเวณสถานที่ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์หัวเรือพระที่นั่งของพระเจ้าเสือหัก สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พันท้ายนรสิงห์ ซึ่งเป็นชาวบ้านนรสิงห์ (ปัจจุบันคืออำเภอป่าโมกข์ จังหวัดอ่างทอง) รับราชการเป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัยของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) แห่งกรุงศรีอยุธยา ในคราวที่คัดท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัย เมื่อเรือพระที่นั่งถึงบริเวณคลองโคกขาม คลองคดเคี้ยวมากเป็นเหตุให้หัวเรือชนกิ่งไม้ใหญ่ริมคลองโคกขาม ทำให้โขนเรือหักตกลงในน้ำ พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมทูลพระเจ้าเสือให้ประหารชีวิตตามกฎมณเฑียรบาล พระเจ้าเสือทรงจำฝืนพระทัยตามพระราชกำหนดที่วางไว้จึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ และให้ทำศาลขึ้นสูงเพียงตา แล้วนำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกชัยที่หักขึ้นพลีกรรมไว้บนศาล เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่แสดงถึงความซื่อสัตย์จงรักภักดี ภายในอุทยานเป็นที่ตั้งของศาลพันท้ายนรสิงห์ ซึ่งต่อมากรมศิลปากรได้สร้างศาลขึ้นใหม่แทนหลังเก่าที่พังลงมา ภายในศาลมีรูปปั้นของพันท้ายนรสิงห์ขนาดเท่าคนจริงอยู่ในท่าถือท้ายคัดเรือ เป็นที่นับถือของชาวบ้านเป็นอย่างมาก
เดือนมกราคม
งานนมัสการหลวงปู่วัดโกรกกราก (งานประจำปีวัดโกรกกราก)
หลวงพ่อปู่วัดโกรกกรากเป็นพระประธานของวัดโกรกกราก ต.โกรกกราก วัดแห่งนี้มีความแปลกและน่าสนใจที่พระพุทธรูปที่วัดนี้สวมแว่นตาดำไว้ตลอด และยังเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของชาวบ้านในจังหวัดสมุทรสาคร งานจะจัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี
เดือนกุมภาพันธ์
งานนมัสการศาลพันท้ายนรสิงห์
จัดขึ้นประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นงานที่ระลึกถึงวีรชนผู้หาญกล้าผู้จงรักภักดีในความซื่อสัตย์ของพันท้ายนรสิงห์ โดยมีการจัดมหรสพและการบวงสรวงสักการะพันท้ายนรสิงห์ เพื่อความเป็นสิริมงคล
งานเทศกาลอาหารทะเล
จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคมของทุกปี บริเวณริมเขื่อนหน้าศาลหลักเมืองเพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงด้านอาหารทะเลของจังหวัดรวมถึงอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มีการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลมากมาย
งานเกษตรบ้านแพ้ว
สถานที่จัดงานคือ บริเวณวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ต.ยกกระบัตร อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคมของทุกปี จัดขึ้นเพื่อเป็นการผลักดันและส่งเสริมการท่องเที่ยวตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด อำเภอบ้านแพ้ว ร่วมกับคณะกรรมการวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสรและชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนประชาชนชาวอำเภอบ้านแพ้วเตรียมจัดงานเกษตรของดีอำเภอบ้านแพ้วและงาน ปิดทองหลวงพ่อโตวัดหลักสี่ และเพื่อโชว์ศักยภาพและความอุดมสมบูรณ์ ของผลผลิตทางการเกษตรทั้งพืช ผัก ผลไม้ กุ้ง ปลาสลิด ที่หลากหลายอันเลื่องชื่อจนถือเป็นเอกลักษณ์ของดีของเด่น ของอำเภอบ้านแพ้วที่รู้จักกันมาช้านาน
นอกจากนี้ภายในงานยังมีการประกวดกล้วยไม้พันธุ์ต่างๆ ถึง 7 ประเภท และประกวดผลไม้พันธุ์ต่างๆ อีกถึง 12 ประเภท และนิทรรศการงานเกษตรสินค้าโอท็อป เพื่อร่วมโชว์ศักยภาพความสามารถของเกษตรกรชาวอำเภอบ้านแพ้วให้ประจักษ์แก่คนทั่วไป จึงขอเชิญนักท่องเที่ยวร่วมชมงานเทศการเกษตรของดีบ้านแพ้วและปิดทองหลวงพ่อ โตวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร เพื่อความเป็นสิริมงคลโดยทั่วกัน
เดือนมีนาคม
งานสุขาภิบาลท่าฉลอม
จัดขึ้นในวันที่ 18 มีนาคม ของทุกปี บริเวณวัดสุทธิวาตวราราม (วัดช่องลม) เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่เสด็จเปิดถนนถวายและจัดตั้งตำบลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกของประเทศไทยเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เดือนเมษายน
งานประเพณีแห่หลวงพ่อโต วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร
จัดขึ้นประมาณเดือนมีนาคม-เมษายนของทุกปี ถือเป็นงานประเพณีที่มีประชาชนเข้าร่วมงานมากโดยมีการนำเครื่องคาวของหวานมาสักการะองค์หลวงพ่อโตตลอดจนการอัญเชิญหลวงพ่อโตประดิษฐานบนเรือและแห่ตามลำคลองดำเนินสะดวกเพื่อให้ชาวบ้านได้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล
งานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยทรงดำ
จัดขึ้นประมาณเดือนเมษายน ณ วัดหนองสองห้อง ต.หนองสองห้อง อ.บ้านแพ้ว เป็นการรวมตัวกันของชาวไทยทรงดำ ในพื้นที่และในบริเวณจังหวัดใกล้เคียง เพื่ออนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมประเพณีให้คงอยู่
ประเพณีแห่ธงตะขาบของชาวไทยรามัญในเทศกาลสงกรานต์
จัดขึ้นในวันสุดท้ายของวันสงกรานต์ ณ วัดบางปลา ต.บางเกาะ อ.เมือง โดยมีการแห่ธงตะขาบแล้วนำขึ้นสู่ยอดเสา ซึ่งเป็นเสาไม้ยอดเสาสลักเป็นรูปหงส์ โดยผู้ที่มาร่วมขบวนแห่แต่งกายแบบดั้งเดิมของชาวไทยรามัญ ซึ่งมีความเชื่อว่าทำให้ชุมชนนั้นมีความเจริญรุ่งเรือง มั่งคั่ง
เดือนมิถุนายน
ประเพณีแห่เจ้าพ่อหลักเมือง
จัดขึ้นในเดือนมิถุนายนของทุกปีบริเวณริมเขื่อนศาลเจ้าพ่อหลักเมืองโดยจะอัญเชิญไปประทับเกี้ยวลงเรือประมงประดับธงทิวอย่างสวยงาม แล้วแห่ไปตามแม่น้ำท่าจีนจากตลาดมหาชัยไปฝั่งท่าฉลอมบริเวณวัดสุวรรณาราม และอัญเชิญไปจนถึงวัดช่องลม เพื่อให้ประชาชนสักการะบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล
เดือนสิงหาคม
ประเพณีการแข่งขันเรือยาว
การแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยสมเด็จพระเทพฯ จัดขึ้นทุกปีบริเวณคลองตาขำ มีการแข่งขันเรือหลายประเภท เป็นงานที่สนุกสนานน่าสนใจของประชาชนทั้งชาวสมุทรสาครและประชาชนต่างถิ่น ที่มาส่งเสียงเชียร์อยู่ริมฝั่งสร้างบรรยากาศความสัมพันธ์ของผืนดินและผืนนํ้า เป็นอย่างดี
เดือนกันยายน
งานประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง
จัดขึ้นที่วัดคลองครุ อำเภอเมืองสมุทรสาคร ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของ ชาวไทยรามัญที่เชื่อว่าการถวายน้ำผึ้งแด่พระสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์มาก
งานนมัสการพระโพธิสัตว์กวนอิม
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-23 พฤศจิกายน ของทุกปีบริเวณหน้าวัดช่องลมเพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มาสักการะพระโพธิสัตว์กวนอิม
เดือนตุลาคม
งานประเพณีล้างเท้าพระและตักบาตรดอกไม้
จัดขึ้นที่วัดเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว ในวันออกพรรษา เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชาวไทยรามัญในการบูชาพระสงฆ์เมื่อถึงวันออกพรรษา เพราะชาวไทยเชื้อสายรามัญเชื่อว่าการทำบุญแด่พระสงฆ์ในวันออกพรรษาจะได้บุญมาก โดยมีการนำน้ำสะอาดใส่เครื่องหอม น้ำปรุง ลอยดอกไม้รดลงบนเท้าของพระสงฆ์และถวายดอกไม้แด่พระสงฆ์ด้วย
งานเทศกาลไหว้เจ้า 9 ศาล เทศกาลกินเจ
จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 9 ของชาวจีนทุกปี เป็นงานกินเจที่สงบด้วยบรรยากาศแห่งพิธีกรรม การบูชาเพื่อชำระจิตใจและร่างกาย ซึ่งมีการไหว้สักการะศาลเจ้าทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำรวม 9 ศาลเจ้าด้วยกัน มีผู้คนในชุมชนร่วมงานมากมาย เทศกาลกินเจ ไหว้สักการะศาลเจ้า 2 ฝั่งแม่น้ำท่าจีนทั้ง 9 ศาลเจ้า (ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร,โรงเจมูลนิธิการกุศลสมุทรสาคร, ศาลเจ้าปุนเถ้ากง ในคลองมหาชัย, ศาลเจ้าแม่กวนอิมพันมือคลองจาก, ศาลเจ้าแม่จุ๋ยบ๋วยเนี้ย, โรงเจเฮียงตั๊ว, ศาลเจ้ากวนอู, ศาลเจ้าปุนเถ้ากล ท่าฉลอม, ศาลพระโพธิสัตว์กวนอิม ท่าฉลอม)
เดือนพฤศจิกายน
งานเทศกาลปลาทูอร่อยที่ท่าฉลอม
จัดขึ้นประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมของทุกปี บริเวณริมเขื่อนวัดสุทธิวาตวราราม(วัดช่องลม) ถือเป็นงานที่รวบรวมเอาเมนูหลากหลายที่ปรุงด้วยปลาทู ปลาที่ขึ้นชื่อในความอร่อยของจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งในช่วงปลายปี ปลาทูจะมีมากและรสชาติอร่อยมากกว่าเดือนอื่นๆมีกิจกรรม การออกร้านจำหน่ายอาหารที่ปรุงจากปลาทูในราคาย่อมเยา ตลอดจนอาหารพื้นบ้านของชาวสมุทรสาคร
ข้อมูลร้านอาหาร
- ร้านอาหารศรีสุวรรณโภชนา(ริมน้ำ) 081-9952235,034-481052
- ป๋อ ป๋อ สุกี้ 081-9428520 034-424580,085-1510462
- ห้องอาหารรสเลิศ 034-422177,081-8329315
- ภัตตาคารนิวรสทิพย์ 081-8152281,034-411900
- ห้องอาหารบ้านแป๊ะยิ้ม 034-471413
- ห้องอาหารสรศักดิ์ 081-8573096,034-411560
- ภัตตาคารนิวเฟรนด์ 087-0005000,034-820111
- ท่าเรือภัตตาคารรับลมซีฟู้ดส์ 081-8575041,034-411084
- ร้านอาหารอ่าวไทย 034-412446,086-6088151
- ลาโตย่าเสต็กเฮาส์ 034-837168,085-9201101
- ร้านอาหารเมืองเล 034-411688
- ร้านอาหาร"ไผ่" (วัดเจษฯ) 034-426646,084-0135977
- ร้านเส่ยเป็ดย่าง 034-811139
- ร้านอาหารอิ่มทิพย์ 081-3041459,034-826835
- ร้านอาหารบ้านกุ้งปลา 034-423107
- ร้านตี๋โภชนาท่าฉลอม 034-497483,081-9330611
- หมี่กรอบช่างรังวัด 034-844383,081-8543922
- ร้านอาหารครัวริมเขื่อน 084-1352355
- ร้านเปี๊ยกส้มตำ 081-3069037
- ร้านเจ๊นุ้ยซีฟู้ด 089-9917799
- ร้านอาหารตำหนักน้ำ 034-478275,081-9869206
- ร้านตำไทย 081-6557544,086-7782439
- ร้านก๋วยเตี๋ยว"นูดเดิ้ลคาเฟ่" 081-9399988
- ร้านมหาชัยหูฉลาม 081-4073823
- ร้านบ้านดี นาดี 081-8050334
- ร้านครัวลุงญา 084-0708231
- ร้านดิวัน 88 083-4421288
- ร้านสุกี้แคนแคน 089-0337079
- ร้านครัวลุงผืน 094-0578553
ลิขิต รักอยู่ นสพ.สมุทรสาครนิวส์ ข่าว 098-8416393
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น